วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

เผยโฉมตั๋วสัปดาห์, ตั๋วเดือน ขสมก.

บทนำ

การเดินทางไปงานคอสเพลย์ หรือจะไปเที่ยว ไปหาเพื่อน ไปไหนก็ตามแต่การเดินทางหลักก็จะมีรถไฟฟ้า และ รถโดยสารหรือรถเมล์ ก็ส่วนใหญ่หลายๆคนคงจะใช้รถไฟฟ้า เพราะไปได้สะดวก รวดเร็ว แต่ข้อจำกัดของรถไฟฟ้าก็คือไปได้ไม่ทั่วถึง แม้จะผ่านสถานที่จัดงานคอสเพลย์ แต่มีน้อยคนที่จะมีสถานีรถไฟฟ้าผ่านหน้าบ้านตัวเองเลยด้วยซ้ำไป แน่นอนว่า รถโดยสาร หรือ รถเมล์ ก็เป็นการเดินทางที่เข้าถึงได้มากกว่า เรียกว่า แทบเกือบทุกถนนใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ จะต้องมีรถโดยสารขนาดใหญ่ หรือ รถเมล์ ผ่านบางซอยถนนเล็กๆ ก็ยังมีรถเมล์ เช่น ถนนประชาสงเคราะห์ ถนนชักพระ ถนนชัยพฤกษ์ เป็นต้น


ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
แน่นอนว่าการเดินทางต้องมีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า หรือ รถเมล์ แต่รถไฟฟ้าค่าโดยสารค่อนค้่างแพงมากๆ ตั้งแต่ 15-45 บาท (BTS ส่วนขยายไปแบริ่ง เปิดเมื่อไร มีข่าวแว่วๆจะขยายราคาไปถึง 60 บาท ไปกลับแบงค์ร้อยใบนึงเอาไม่อยู่แน่ๆบางคน) แต่หากกลับมามองเรื่่องรถเมล์ ค่าโดยสารก็แพงไม่แพ้กัน รถธรรมดา หรือ รถร้อน(ไม่มีเครื่องปรับอากาศ) ราคาถูกมากๆ เต็มที่ก็ 8 บาท (ไม่นับราคาช่วงทางด่วน กะสว่าง หรือบางช่วงที่เก็บในเส้นทางรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดปริมณฑล ซึ่งจะใช้เรตอีกราคาในบางสาย) แม้กระทั่งฟรีก็หาได้เช่นกันกับรถธรรมดา (แต่ช่วงหน้าร้อนคงจะไม่ไหว) หากใครที่นั่งรถโดยสารปรับอากาศ แน่นอนว่าอัตราค่าโดยสารจะเก็บตามระยะทางที่ 11-19 บาทสำหรับรถครีมน้ำเงิน และ 12-24 บาท สำหรับรถยูโร ถ้านั่งไปกลับหลายๆต่อ ก็แพงเอาเรื่องเช่นกัน

Image

เมื่อ ขสมก. ออกตั๋วประหยัดรายสัปดาห์ / รายเดืิอน
ในเมื่อยุคนี้ค่าครองชีพแพงขนาดนี้ อีกไม่นานนี้เราจะได้พบกับการใช้บัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถเมล์ แต่ตอนนี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. เหมือนจะให้เราได้ลองปรับตัวรองรับในอนาคต จึงได้ออกเพจแกจตั๋วสัปดาห์ และ ตั๋วเดือน ในราคาประหยัดเพื่อสะดวกต่อการเดินทางมากขึ้น ซึ่งตั๋วที่ว่านี้ สามารถเดินทางได้ไม่จำกัดเที่ยว จะขึ้นลงกี่ต่อก็ได้ไม่สำคัญ จะนั่งป้ายเดียว หรือจะนั่งต้นทางยังสุดสาย หรือนั่งแล้วแวะลงหาอะไรกินกลางทาง ค่อยมานั่งต่อก็ยังได้ ไม่จำกัดเที่ยวในระยะเวลาที่กำหนด แต่ .... ข้อจำกัดคือใช้แค่เฉพาะ รถโดยสารของ ขสมก. เท่านั้น รถร่วมบริการ มินิบัสสีแสด รถเมล์เหลือง รถเมล์ชมพู สองแถว รถตู้ เมโทรบัส บีอาร์ที รถโดยสารอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ขสมก ใช้บัตรนี้ไม่ได้ แต่ทีนี้ตั๋วสัปดาห์ และ ตั๋วเดือนมันมีหน้าตายังไง

ตั๋วสัปดาห์ สำหรับการเดินทางที่ไม่แน่นอน
เป็นตั๋วที่ออกมาใช้สำหรับการเดินทางใน 1 สัปดาห์ ซึ่งจะมี 2 แพจเกจ

แพจเกจสำหรับรถธรรมดา ราคา 100 บาท (ยังไม่จำหน่าย)
แพจเกจสำหรับรถปรับอากาศ และรถธรรมดา ราคา 200 บาท

ในตั๋วนั้นจะมีช่องปีที่ใช้ก็คือ 2554 / 2555 (ใครซื้อจะมาเก็บไว้ใช้ปีหน้าก็ได้นะครับ) ช่องต่อมาจะเป็นเดือนที่ใช้ จะมี 12 ช่อง ก็มกราคม ถึง ธันวาคม และ อีกช่องนึงก็คือสัปดาห์ที่ใช้จะเป็นช่วงๆ

แล้วสัปดาห์นึงเขานับกันยังไง เช่น จะใช้สัปดาห์นึงแต่ผมจะใช้วันที่ 5 ถึง 12 ก็นับแล้ว สัปดาห์นึง จริง !!!! แต่ไม่ใช่ ตั๋วสัปดาห์ของเขาจะนับเป็นช่วงเวลาของเขากำหนด จะแบ่ง 4 ช่วง

ช่วงที่ 1 : วันที่ 1 - 7
ช่วงที่ 2 : วันที่ 8 - 14
ช่่วงที่ 3 : วันที่ 15 - 21
ช่วงที่ 4 : วันที่ 22 - สิ้นเดือน (อันนี้คุ้มมากๆครับ)

นั่นก็คือว่าถ้าจะใช้ช่วงไหนของเดืิอนสามารถเลือกได้ แต่กรณีสักครู่ที่ว่านั่งวันที่ 5 ถึง 12 อันนั้นต้องซื้อ 2 ใบก็ใบนึงช่วงที่ 1 กับอีกใบนึงใช้ช่วงที่ 2 นั่นเอง หรือจะใช้เฉพาะวันที่ 1-8 จะซื้อแค่ใบเดียวใช้ช่วงที่ 1 (วันที่ 1-7 ก็ได้) อีกวันก็ไม่ต้องใช้ หรือจะซื่้ออีกใบก็แล้วแต่ท่าน

ข้อดีของตั๋วประเภทนี้ก็คือว่า สามารถเลือกใช้เป็นเฉพาะช่วงๆได้ เมื่อเทียบกับตั๋วเดือนแล้วราคาเท่าๆกัน ก็คือตั๋วเดือน 800 บาท แต่ตั๋วสัปดาห์ 200 บาท จำนวน 4 ใบใช้ทั้ง 4 ช่วงก็เท่ากับ 1 เดือน ก็ราคา 800 บาทเท่ากัน แต่หากสัปดาห์ไหนไม่ได้ใช้ หรือใช้แค่บางเฉพาะ ตั๋วเดือนสามารถเลือกใช้เฉพาะช่วงได้ แต่ตั๋วเดือนนั้นเหมาทั้งเดือน

ส่วนข้อด้อยก็ที่บอกไปครับว่า ช่วงการใช้งานต้องเป็นไปตามที่กำหนดในตั๋วนั้น ไม่สามารถระบุเป็นเฉพาะๆจริงๆที่เราอยากใช้นั่นเอง

ตั๋วเดือน สำหรับการเดินทางที่คุ้มตลอดเดือน
เป็นตั๋วที่ออกมาสำหรับการเดินทางตลอดเดือน จะมี 2 แพจเกจให้เลือก

แพจเกจสำหรับรถธรรมดา ราคา 400 บาท (ยังไม่จำหน่าย)
แพจเกจสำหรับรถปรับอากาศ และรถธรรมดา ราคา 800 บาท

ในตั๋วนั้นจะมีแค่ปีที่ใช้ ก็คือ 2554 / 2555 กับเดือนที่ใช้ 12 ช่อง (มกราคม - ธันวาคม) แต่ตั๋วใบนี้นั้นใช้ได้เฉพาะเดือนที่กำหนด

ข้อดีของตั๋วประเภทนี้คือว่า ใช้ได้ตลอดเดือนโดยที่เราไม่ต้องคอยมาซื้อที 4 ใบ มันได้ทั้งเดือนเหมือนกัน แถมราคาเท่ากัน ถ้าใช้เดือนนึงแต่เป็นตั๋วสัปดาห์ก็ได้เช่นกัน แต่พอจะหมดสัปดาห์ก็ต้องรีบหาซื้อเพื่อใช้ต่อนั่นเอง

ข้อด้อยของตั๋วใบนี้ก็คือว่าถ้าทำหาย หรือชำรุด ก็จบกันครับ ยิ่งทำหาย หรือ ชำรุดช่วงแรกๆของเดือนก็แย่เลยหละ หรือจะใช้เดือนนี้แล้วแต่ไปซื้อช่วงกลางเดือนก็ไม่คุ้มกันครับ เพราะเสียสิทธิ์ไปแล้ว 15 วัน ถึงจะใช้ 15 วันที่เหลือของเดือนก็ตามที ไม่คุ้มครับ ไปใช้ตั๋วสัปดาห์ 2 ใบแค่ 400 บาทยังดีกว่าครับ และจ่ายที่จำเป็นเพราะอันนั้นก็ 800 บาท)

พิจารณาว่าคุ้มหรือไม่กับการซื้อตั๋วชนิดนี้
อันนี้ขอบอกว่าแต่ละคนจะไม่เท่ากัน บางคนคุ้มเท่ากับจ่ายปกติ บางคนก็ไม่คุ้มเลยเพราะไม่ได้ใช้ หรือไม่สามารถใช้ได้ แต่บางคนก็คุ้มจนชนิดสุดๆไปเลยก็มี ทีนี้จะพิจารณายังไงว่าคุ้มไม่คุ้ม ก็ลองมาคิดกันก่อนครับ

เริ่มแรก - ใช้บริการประเภทไหนเป็นประจำ
ต้องมาดูก่อนว่าเราใช้อะไรบ่อยสุด เช่น ถ้าใช้รถร่วมบริการบ่อยกว่า หรือ มินิบัสบ่อย หรือแทบมากๆ ซึ่งตั๋วแบบนี้ใช้ไม่ได้ ก็ไม่ควรซื้อเพราะใช้ไม่คุ้มเสียเลย แต่หากกลับกันถ้าคุณนั่งรถของ ขสมก บ่อยเป็นประจำ ตั๋วที่ว่านี้ก็ควรจะลองมาใช้ แต่่ถ้าใครใช้รถไฟฟ้าบ่อยๆ ก็อันนี้ตามสบายท่านครับ แต่อยากจะสบาย สะดวก ขึ้นลงไม่จำกัดเที่ยวลองมาเล่นพวกนี้ได้

อย่างที่สอง - ใช้บ่อยหรือไม่
บางคนขึ้นรถเมล์แค่ไปงานคอสเพลย์ แต่ตอนเรียนก็รถที่บ้านรับส่ง อันนี้ไม่ต้องใช้หรอกครับ .... แต่ถ้าใคร ขึ้นรถเมล์ไปเรียน แล้วไปคอสเพลย์ ก็น่าสนนะครับ แต่หากชอบเที่ยวนั่งรถเมล์ อันนี้ขอบอกว่า "ควรจะใช้ตั๋วแบบนี้อย่างยิ่ง"

อย่างที่สาม - ราคาเฉลี่ย
ราคาเฉลี่ยของตั๋วสัปดาห์ กับ ตั๋วเดือน ตกที่วันละ 30 บาท (สมัยก่อนเคยมีตั๋ววันจำหน่ายในราคา 30 บาทแต่ปัจจุบันไม่มีจำหน่ายแล้ว) หากใครที่ใช้รถเมล์บ่อยๆ แต่วันนึงไม่ถึง 30 บาท ก็ไม่แนะนำเท่าไรนัก แต่หากใครบางคนที่ใช้รถ ขสมก บ่อยๆ แต่นั่งสองต่อขึ้นไป ยิ่งรถปรับอากาศด้วย ผมแนะนำว่าควรใช้ตั๋วพวกนี้ เพราะคุ้มอยู่แล้ว เอาง่ายๆ ขาไป 12 + 12 บาทก็ 24 บาท ไปกลับ 48 บาท ถ้าไปทั้งสัปดาห์ ก็จ่ายเกือบๆ 350 บาท แต่ตั๋วสัปดาห์ ก็แค่ 200 บาท อีก 150 บาทไปซื้อผ้าตัดคอสยังได้เลย หุหุหุ อย่างน้อยก็ช่วยเซฟเงินท่านได้

แต่ก็มีบางคน โดยเฉพาะพวกโอตาคุรถเมล์ หรือพวกที่ชื่นชอบรถเมล์ พวกนี้เรียกว่าต่อให้วันธรรมดาที่ใช้ไม่ถึงเฉลี่ยวันละ 30 บาท แต่เมื่อถึงวันหยุด หรือวันที่ได้เที่ยวเล่น พี่แกสามารถใช้ราคาเรียกว่าเกินแหลกหลานไปสุดๆ จากสถิติพบว่า เดือนนึงใช้ตั๋วเดือน 800 บาท แต่ใช้ไปแล้ว 1,600 บาท แต่สถิติสูงๆพวกนี้เดือนนึงเขาสามารถใช้กันไม่ต่ำกว่า 2,500 - 3,000 บาท (สถิติสูงสุดประมาณการ 4,000+ บาท) แต่จ่ายตั๋วเดือนแค่ 800 บาท แม้แต่คอสเพลย์บางคนวันแรกของการใช้ตั๋วสัปดาห์ ราคา 200 บาท แค่วันแรกประเดิมไปแล้วเกือบ 140 บาท วันที่เหลืออัก 6 วันของตั๋วสัปดาห์ก็คงใช้กันแบบคุ้มสุดตัวไปข้างนึงเลยทีเดียว

ไม่แปลกหรอกครับ เล่นยังไงหละถึงได้ทำสถิติกันพรวดพราด เอาง่ายๆ แค่ป้ายเดียวเช่นสยาม ไป ประตูน้ำ พี่แกไม่เล่นเดิน ก็ขึ้นไปก็ 12 บาทแล้ว บางคนหนักกว่า ขึ้นสาย 79 จากสายใต้ใหม่ไป CW ก็ 20 บาท แต่พี่เล่นมาลงตลาดตลิ่งชันนั่งเรือเล่น ก็จากสายใต้ ไปตลาดน้ำก็ 12 บาท จากตลาดน้ำไป CW ก็ 16 บาท มานับแล้วก็ 28 บาท

หรือลองคิดเล่นๆ บางคนวันนึงเขาใช้ตั๋วสัปดาห์ 200 บาท แต่วันนั้นเล่นนั่งไปแวะห้าง แวะเที่ยวกี่ที่ นั่งกี่ต่อออกมาแล้วแบบนี้

11 + 20 + 14 + 14 + 12 + 12 + 12 + 12 + 18 + 11

ปาเข้่าไปแล้ว 13 952 บาท แต่ใช้ตั๋วสัปดาห์ 200 บาท ซึ่งก็ไม่จำกัดเที่ยวต่อวัน ไม่แปลกที่ตัวเลขจะออกมาแบบเว่อร์ๆ
6 บาท แค่วันแรกนะ ซึ่งที่บอกไปว่าวันนึงเขาเฉลี่ยที่ 30 บาท แต่ล่อไปขนาดนั้นแล้วถ้านั่ง 7 วันตลอดตั๋วสัปดาห์ แล้วนั่งแบบที่ว่านี้ก็ปาไปแล้ว

อันนี้ขึ้นกับการใช้งานของแต่ละคนด้วยนะครับ ^^

วิธีการใช้งาน
ก็ไม่ยากครับ ก็เหมือนปกติแต่แทนที่เราจะจ่ายตังก็ มาเป็นแสดงตั๋วใบนี้แทนควรจะเก็บไว้ หากกรณีที่นายตรวจขึ้นมาก็แสดงตั๋วนี้ให้นายตรวจเช่นกัน แต่ตั๋วสัปดาห์ และ ตั๋วเดือน จะต้องมีการทำตำหนิก็คือเจาะรูนั่นเอง

Image
นี่เป็นภาพตัวอย่างก็คือใช้ในช่วงที่ 1 (วันที่ 1-7) ของเดือนพฤษภาคม ปี 2554 (เพิ่งประเดิมไปงานโคโคโระมา)

หาซื้อได้ที่ไหน
สามารถหาซื้อตั๋วสัปดาห์ และ ตั๋วเดือน ได้ที่กระเป๋ารถเมล์(บางคนก็มี บางคนไม่มีนะครับ) นายท่า หรือตามสถานที่เช่น อู่บางเขน อู่หมอชิต อู่แสมดำ อู่ต่างๆของ ขสมก. หรือที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจะมีโต๊ะขายตั๋ว แน่นอนว่าหาซื้อคงจะไม่ยาก แต่ก่อนจะซื้อควรจะศึกษาเส้นทาง และ การใช้งานของเราโดยปกติก่อนนะครับว่าคุ้มหรือไม่ ?


อย่างไรก็ตามใช่ว่าจะใช้กันได้คุ้มเท่ากันทุกคน แต่หากใครได้ใช้ก็จะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจมากๆ แต่หากใครได้ใช้แล้วสามารถช่วยค่าใช้จ่ายของท่านได้ก็ถือว่าเป็นประโยชน์เช่นกัน

ที่มา http://www.ccath.com/phpBB/topic15429.html

ตัวหนาผยโฉมตั๋วสัปดาห์, ตั๋วเดือน ขสมก. ประหยัด-ใช้ไม่จำกัดเที่ยว

เผยโฉมตั๋วสัปดาห์, ตั๋วเดือน ขสมก. ประหยัด-ใช้ไม่จำกัดเที่ยว

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.จะทำตั๋วโดยสารราคาประหยัดออกมาขาย เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่มีรายได้ น้อย มีทั้งตั๋วสัปดาห์ ตั๋วเดือน ส่วนราคาจะประหยัดสมชื่อหรือไม่ นางปราณี ศุกระศร รอง ผอ.ขสมก. จะเป็นผู้มาชี้แจงข้อมูลรายละเอียด

ถาม…ทำไมถึงคิดทำตั๋วรถเมล์ราคาประหยัด ทั้งที่ ขสมก.ยังขาดทุน และราคาตั๋วประหยัดถูกกว่าเดิมมากน้อยแค่ไหน

ปราณี…เหตุผลข้อแรก ขสมก.ต้องการช่วยเหลือลูกค้าประจำที่นั่งรถเมล์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนมีรายได้น้อย แม้รัฐจะให้จัดรถเมล์ฟรีมาวิ่งบริการ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยิ่งวันไหนรถติดมากๆ รถเมล์จะขาดช่วง คนก็จะรอนาน บางคนยอมเสียเวลายืนรอรถเมล์ฟรี เพราะต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย

ขสมก.จึงทำตั๋วราคาประหยัดออกมา มีทั้งรถร้อนและรถ ปอ. แบ่งเป็น 2 ประเภท ตั๋วสัปดาห์ รถร้อน ราคา 100 บาท รถ ปอ.ราคา 200 บาท และตั๋วเดือน รถร้อน ราคา 400 บาท รถ ปอ. ราคา 800 บาท ต้นทุนการพิมพ์ถ้าเป็นตั๋วสัปดาห์ตก 4-5 บาท ตั๋วเดือนตกราคา 6-7 บาท พิมพ์อย่างละ 1 แสน

ตั๋วประหยัด ราคาจะถูกกว่าราคาปกติ ยกตัวอย่าง คนนั่งรถร้อนประจำไปกลับวันละ 4 เที่ยว เที่ยวละ 7 บาท เป็นเงิน 28 บาท ตกสัปดาห์ละ 196 บาท แต่ถ้าซื้อตั๋วประหยัด ราคาแค่ 100 บาท แถมจะขึ้นกี่เที่ยวก็ได้ไม่จำกัด มีข้อแม้ว่าซื้อตั๋วประเภทไหนจะต้องใช้ให้ตรงกับที่ซื้อ ยกเว้นตั๋วรถ ปอ.สามารถใช้ขึ้นรถร้อนได้

เหตุผลข้อสอง คือ ช่วยแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพราะจะมีเงินสดจากรายได้ค่าโดยสารมาหมุนเวียนในระบบมากขึ้น จากเดิมต้องรอวันต่อวัน เหตุผลข้อสุดท้าย เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมฝึกคนใช้ตั๋วใบเดียว เพราะต่อไปจะพัฒนาเป็นระบบตั๋วร่วม หรืออีทิกเก็ต

ถาม…ก่อนหน้านี้ ขสมก.เคยทำตั๋วราคาประหยัดมาขายหลายครั้ง แต่ทำไมถึงเลิกแล้วกลับมาทำใหม่

ปราณี….ที่ทำๆเลิกๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ แนวนโยบายของผู้บริหารแต่ละคนที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะมองว่าเป็นการเพิ่มภาระให้กับ ขสมก. มีการทำตั๋วผี ตั๋วปลอมมาใช้ ทำให้ขาดทุนเพิ่มขึ้น จึงแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น

บางคนเห็นด้วยเพราะต้องการช่วยเหลือประชาชน ถึงแม้ ขสมก.รายได้จะลดลง แต่ถ้ามีวิธีการบริหารจัดการที่ดี ขสมก.ก็อยู่ได้ แต่สาเหตุจริงๆที่ยกเลิก เพราะคนไม่นิยมมากกว่า อาจเพราะไม่รู้ว่ามีตั๋วราคาประหยัด หรือรู้ แล้วแต่ไม่อยากจ่ายเงินก้อนล่วงหน้า ที่สำคัญการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง

สำหรับการขายตั๋วรุ่นใหม่ ขสมก.จะปรับวิธีการใหม่หมด เริ่มจากรูปแบบของตั๋วโดยสารออกแบบเป็นพิเศษ ป้องกันการปลอมแปลง โดยขนาดของตั๋ว กว้าง 85.60 มม. สูง 53.98 มม. ด้านหน้าจะพิมพ์รายละเอียดบอกประเภทของตั๋วว่า เป็นตั๋วสัปดาห์ หรือตั๋วเดือน แต่ละประเภทจะใช้สีแตกต่างกัน เช่น ตั๋วสัปดาห์ รถร้อนสีเหลืองอมน้ำตาล รถ ปอ.สีเขียวอ่อน ถ้าเป็นตั๋วเดือน รถร้อน สีแดง รถ ปอ.สีฟ้า นอกจากนี้ ยังระบุเดือน ปี พ.ศ. ที่เริ่มใช้ตั๋ว และราคาของตั๋ว

ตั๋วแต่ละใบจะมีบาร์โค้ดกำชับป้องกันการปลอมแปลง และที่ขอบด้านซ้ายจะติดแถบโฮโลแกรม (Hologram Stripe) ลวดลาย ขสมก. ส่วนที่มุมขวาล่างจะระบุราคาของตั๋ว ที่ตัวเลขแสดงราคาตั๋วจะใช้หมึกเหลือบแสง (Pink OVI) เมื่อส่องกระทบแสงจะเป็นสีชมพูเหลือบแสง ส่วนด้านหลังจะระบุเงื่อนไขการใช้ตั๋วดังกล่าว

สำหรับสถานที่ขายตั๋วก็จะเพิ่มช่องทางมากขึ้น เดิมจะขายเฉพาะที่อู่ หรือที่เขตการเดินรถ โดยจัดทีมประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่สำรวจและแนะนำการใช้พร้อมกับขายตั๋วไปด้วย โดยเน้นจุดที่มีคนใช้บริการมากๆ เช่น ตามป้ายรถเมล์ สถานที่ราชการ สถานที่จัดงานประชุม หรือจัดกิจกรรมต่างๆ หากบริษัทห้างร้านใดสนใจติดต่อผ่านหมายเลข 184 ก็จะไปบริการให้ถึงที่ โดยเริ่มขายตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ.2554 เป็นต้นไป.

ข่าว

เผยโฉมตั๋วสัปดาห์, ตั๋วเดือน ขสมก. ประหยัด-ใช้ไม่จำกัดเที่ยว



ขสมก.ได้จัดทำโครงการบัตรโดยสารรถเมล์เฉลิมพระเกียรติ ออกจำหน่าย ด้านหน้าของบัตรเป็นภาพรถเมล์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ด้านหลังเป็นตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งสามารถ ขสมก.ได้จัดทำโครงการบัตรโดยสารรถเมล์เฉลิมพระเกียรติ ออกจำหน่าย ด้านหน้าของบัตรเป็นภาพรถเมล์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ด้านหลังเป็นตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งสามารถนำไปใช้ บริการรถเมล์ธรรมดาของ ขสมก. ได้ทุกสาย ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว ยกเว้นรถปรับอากาศ รถร่วมบริการ และรถมินิบัส สามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี 2542










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น